เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
จตุตถวรรค
[152] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละนิวรณ์ 5 อย่าง
ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว
ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (1)

ว่าด้วยนิวรณ์ 5
คำว่า ละนิวรณ์ 5 อย่าง อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ คือ ละทิ้ง
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกามฉันทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้
ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความพอใจในกาม) พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้
ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความคิดปองร้าย) ... ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้า
ในคุณธรรมคือความหดหู่และเซื่องซึม)... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้
ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ... วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้
ก้าวหน้าในคุณธรรมคือความลังเลสงสัย) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว
บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก มีวิจาร มีปีติสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ รวมความว่า
ละนิวรณ์ 5 อย่าง
คำว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ราคะเป็นอุปกิเลส
แห่งจิต โทสะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต โมหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต โกธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ฯลฯ อุปนาหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทเป็น
อุปกิเลสแห่งจิต
คำว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ขจัด คือ กำจัด ละทิ้ง
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอุปกิเลสแห่งจิตทั้งหมดได้แล้ว รวม
ความว่า ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :484 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่อิงอาศัย ในคำว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว
อธิบายว่า การอาศัย 2 อย่าง คือ (1) การอาศัยด้วยอำนาจตัณหา (2) การอาศัย
ด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัย
ด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก 2 อย่าง คือ (1) ความรักด้วยอำนาจตัณหา
(2) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ2

ว่าด้วยความชัง
คำว่า ความชัง ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก
เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ
ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย
ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้
คำว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว อธิบายว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นตัดความรักด้วยอำนาจตัณหา ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ และความชัง
ได้แล้ว คือ ตัดขาด ถอนขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก
ก็ไม่อาศัยตา ไม่อาศัยหู ฯลฯ ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว
ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ได้แก่ ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง
แล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและ
ความชังได้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 11/80-81

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :485 }